


นกกระทาดงคอสีแสด
(Rufous-Throated Partridge)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Arborophila Rufogularis
เขตแพร่กระจาย : อินเดียตอนเหนือ เนปาล รัฐสิกขิม ภูฐาน บังคลาเทศ จีน พม่า เวียตนาม ไทย
ลักษณะทั่วไป : นกกระทาดงคอสีแสดมีขนาดตัววัดจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 26-29 ซม. ตัวผู้และตัวเมียมีสีสันคล้ายคลึงกัน
ชนิดย่อยที่พบในเมืองไทยชื่อชนิดย่อยว่า Arborophila rufogularis tickelli (ชนิดย่อยนกกระทาดงคอสีแสดพันธุ์พม่า)
มีลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแกมเขียว คิ้วสีขาว หลังตอนท้ายตะโพกและหางมีลายจุดสีดำ ช่วงไหล่และขนคลุมขนปีกบางส่วนมีสีดำ
สลับสีน้ำตาลแดง ใต้คอสีน้ำตาลแดงแกมส้มและมีจุดสีดำ รอบคอด้านล่างมีจุดสีดำเรียงคล้ายสายสร้อย อกสีเทาเข้ม
ท้องสีจางกว่าลำตัวด้านบนเล็กน้อย สีข้างและขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีน้ำตาลแกมเขียวมีลายแถบสีดำ ขาและเท้าสีแดง
ที่อยู่อาศัยหากิน : ป่าเขาระดับสูง หรือที่เรียกกันว่าป่าเมฆ ซึ่งพบเฉพาะยอดเขาที่มีความสูง 2,000 เมตรขึ้นไป
อาหารส่วนใหญ่ : หนอน แมลง ปลวก ยอดอ่อนของพืชบางชนิดและผลไม้สุกที่ร่วงอยู่ในป่า
ฤดูผสมพันธุ์ : เมษายนถึงสิงหาคม เมื่อผสมพันธุ์แล้วนกตัวผู้จะหายไประยะหนึ่ง นกตัวเมียหาที่เหมาะบนพื้นดิน คุ้ยเขี่ยจนเป็นแอ่ง
เอาใบไม้ใบหญ้ามารองรัง วางไข่และกกไข่ตามลำพัง โดยจะวางไข่ประมาณครั้งละ 3-6 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ 21 วัน เมื่อลูกนกออกมา
ู่พอขนแห้งก็เดินได้เลย ระยะนี้พ่อนกจะกลับมาช่วยแม่นกเลี้ยงดูลูก โดยจะคุ้ยเขี่ยให้ลูกๆ เห็นอาหารและเข้ามาจิกกินเอง
ประมาณ 1-2 เดือนลูกนกก็จะโตพอที่จะแยกตัวออกไปหากินเอง โดยพวกเค้าจะตัวโตเท่าพ่อแม่แล้ว แต่คอเพิ่งจะมีสีแสดเล็กน้อย
หน้าอก ท้องและสีข้างมีจุดสีขาวๆมากมาย หนังรอบตาและขาเป็นสีเหลืองหม่น
สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่นที่หายากและมีปริมาณน้อย เนื่องจากมีการลักลอบ ล่า และดักจับ อาจพบได้ที่ดอยอินทนนท์
ดอยหลวงเชียงดาว ป่าอมก๋อย ดอยสุเทพ ดอยปุย ในภาคตะวันตกจะเห็นที่อุทยานแห่งชาติห้วยขาแข้ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง
Bird New