HOME | BIRD REPORT | BIRD PRACTICE | BIRD TOOL | BIRD FOREST | BIRD LOCATION | BIRD WALLPAPER | CONTACT US
 
Time




  

Bird Scarce

 

ชนิดของป่าู่ ชนิดนกที่พบได้ในป่า้ สภาพแวดล้อมและพฤติกรรมของนก

         ป่า หรือ ป่าไม้้ คือพื้นที่ธรรมชาติลักษณะหนึ่ง ที่แตกต่างไปจากพื้นที่ลักษณะอื่นๆเช่น ทะเล หรือทุ่งหญ้า

เพราะในป่าประกอบด้วยต้นไม้ สัตว์และแมลงใหญ่น้อยมากมาย อยู่รวมกันอย่างมีระบบ เป็นอาณาจักรธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่

ป่าเป็นที่อยู่ของนกมากชนิดกว่าในพื้นที่ธรรมชาติลักษณะอื่นๆ เพราะมีปัจจัยสำหรับการดำรงชีวิตของนกเกือบทั้งหมด

เช่น แหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร พื้นที่สำหรับเคลื่อนย้ายเปลี่ยนแหล่งหากิน นอกจากนั้นป่ายังรวมพื้นที่ธรรมชาติที่ปลีกย่อยไว้ด้วย

เช่น ทุ่งหญ้าธรรมชาติ ภูเขาที่มีระดังความสูงแตกต่างกัน โขดหิน หน้าผา น้ำตก ถ้ำ บึง ลำธารในที่โล่ง และลำธารน้ำในที่ทึบไว้ด้วย เป็นต้น

ู่          ต้นไม้ในป่ามักมีสีเขียวทึบเป็นร่มเงามีแสงน้อย ยกเว้นที่โล่งบางแห่งในป่า ทางเดินอาจเป็นทางด่านสัตว์ หรือทางเดินป่าที่ทำขึ้น

มีความราบ เป็นเนิน เป็นหุบลึก หรือขึ้นสูงชัน ต้นไม้พื้นล่างอาจจะมากหรือน้อย บางครั้งต้องอาศัยลำธารเป็นทางสัญจร มีพืชหนาม พืชมีขน

แมลงและสัตว์เลื้อยคลานที่อาจเป็นพิษ สิ่งเหล่านี้เป็นความแตกต่าง เมื่อเปรียบเทียบกับการดูนกในพื้นที่ลักษณะอื่นๆ

          การแบ่งพื้นที่ตามลักษณะความแตกต่างของพรรณพืชและสัตว์ของโลกประเทศไทยตั้งอยู่ใน เขตตะวันออก ( Oriental Region)

มีลักษณะเด่นทางชีวภูมิศาสตร์หลายประการ และได้ชื่อว่าเป็นศูนย์รวมของความหลากหลายทางชีวภาพ ( Zoological crossroad)

ชนิดนกที่พบในประเทศไทย มีหลายกลุ่มย่อย ( sub-region) ของเขต Oriental มี

1. กลุ่มอินโด-พม่า (Indo-Burmese) ที่มีถิ่นอาศัยครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ตะวันออกของอินเดีย จนถึงพม่า

2. กลุ่มอินโดจีน ( Indo-Chinese) เป็นกลุ่มที่อาศัยอยู่ทางอัสสัม พม่า ไทย ประเทศกลุ่มอินโดจีน (เขมร ลาว เวียตนาม) จีนตอนใต้

เกาะฟอโมซา เกาะในทะเลอันดามัน รวมทั้งเกาะนิโคบา

3. กลุ่มซุนดา ( Sundaic) หรือ กลุ่มมาเลเซียน ( Malaysian) ที่พบทางภาคใตัของไทยจดมาเลเซีย เกาะซุนดา สุมาตรา ชวา บอร์เนียว

4.กลุ่มจีนหิมาลัย ( Sino-Himalayan) ชนิดที่พบตามภูเขาสูงในภาคเหนือ พบได้ตั้งแต่แคว้นแคชเมียร์ ธิเบต จนถึงประเทศจีน

รวมทั้งมีนกที่ย้ายถิ่นเข้ามาในฤดูหนาวจากตอนเหนือของทวีปเอเชียหรือที่เรียกว่า เขตพาลีอาร์คติค ( Palearctic region) อีกหลายชนิด

          ทำให้ชนิดนกที่พบในประเทศไทยปัจจุบันมีกว่า 962 ชนิด ประมาณ 10% ของชนิดนกในโลก แต่มีนกเฉพาะถิ่นไม่พบที่ใดในโลก

(Endemics) เพียง 2 ชนิด คือ นกเจ้าฟ้าสิรินธร (White-eyed River Martin) และ นกกินแมลงแด๊กแนน (Deignan's Babbler)

 

ชนิดของป่าที่นกอาศัยอยู่

ธรรมชาติได้สร้างให้มีความสมดุลในการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ได้อย่างสมบูรณ์ โดยระดับความสูงของต้นไม้ ความสูงของพื้นที่

ี่ลักษณะต่างๆ ของป่าที่เป็นแหล่งอาศัยของนกแตกต่างชนิดกันเช่น

ป่าดิบที่ราบต่ำ (Lowlan evergreen)           

จะมีนกที่อาศัยหากินตามพิ้นดิน ได้แก่ นกแต้วแล้ว ( Pittas) นกจู๋เต้น ( wren babblers) สูงขึ้นไปอีกระดับหนึ่งมีพวกนกกินแมลง

(babblers) หากินเป็นฝูงตามพุ่มไม้ชั้นล่าง สูงขึ้นไปอีกเป็นพวกนกจับแมลง (flycatcher) ขึ้นไปส่วนกลางของลำต้นเป็นพวกนกขุนแผน

(trogons) และสูงขึ้นไประดับยอดไม้เป็นพวกนกพระยาปากกว้าง ( braodbills) นกเขียวก้านตอง (leafbirds) และพวกนกกระจิ๊ด

(warblers) เป็นต้น

ป่าเบญจพรรณ (Mix deciduos)  

ชนิดของนกมีความใกล้เคียงกับนกในป่าดิบที่ราบ และเริ่มพบพวกนกหัวขวาน (woodpeckers)

ป่าเต็งรัง (Deciduous)  

มีความแห้งโปร่ง ใบไม้มีขนาดใหญ่ขึ้น เป็นไม้ผลัดใบ ในฤดูแล้วมักเกิดไฟป่า เหล่านกที่พบได้คือ นกหัวขวาน นกไต่ไม้ (nuthatches)

เฉี่ยวบุ้ง (cuckoo shrikes) นกอีเสือ (shrikes) เป็นต้น

ป่าสน (Pine)   

ชนิดนกมีความใกล้เคียงกับในป่าเบญจพรรณ และเมื่อระดับสูงขึ้นนกที่พบได้เช่น นกปีกลายสก๊อต (jay) นกขมิ้น (orioels)

ป่าดิบเขา (Hill evergreen)   

เป็นป่าไม้ผลัดใบ มีความเขียวตลอดทั้งปี อยู่บนระดังสูงสุดในประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ความสูง 1800-2500 เมตรจากระดับน้ำทะเล

เป็นจุดที่มีนกหนาแน่นเช่นเดียวกัน ทั้งนกประจำถิ่นและย้ายถิ่น เช่น พวกนกเดินดง (thrushes) นกเสือแมลง (shrike babblers)

นกเขนน้อย (robins) เป็นต้น

 

ชนิดนกที่พบได้ในป่า

         นกที่พบในประเทศไทยมี นกประจำถิ่น (Residents) นกย้ายถิ่น (winter visitors) นกประจำถิ่น ทำรังและขยายพันธุ์ในประเทศไทย

ทำให้เราสามารถพบเห็นได้ตลอดปี นกย้ายถิ่น ส่วนใหญ่ไม่ได้ทำรังและขยายพันธุ์ในประเทศไทย หรือเรียกว่า non-breeding visitors'

แต่เคลื่อนย้ายเปลี่ยนแหล่งอาหารลงมาจากตอนบนของทวีปเอเชียและยุโรป โดยเฉพาะเข้ามาหากินในบ้านเราในฤดูหนาว

ช่วงเดือนกันยายน-พฤษภาคม ซึ่งมีมากมายหลายชนิด มีบางชนิดเป็น นกย้ายถิ่นผ่าน ไปทางภาคใต้หรือเลยประเทศไทยไปจนถึง

มาเลเซีย อินโดนีเซีย ซึ่งจะพบเห็นได้ก่อนและหลังนกย้ายถิ่น ( winter visitors) พวกแรก เพราะจะเดินทางผ่านเข้ามาและผ่านกลับ

ที่สร้างรังของมันก่อน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน และกลับตั้งแต่เดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม เช่น นกพวกเหยี่ยว

(buzzards,sparrowhawls) หลายชนิด นกกระจิ๊ดขั้วโลกเหนือ (Arctic Warbler) นกเดินดงสีเทาดำ (Siberian Thrush)

นกจับแมลงหลายชนิด เช่น นกจับแมลงตะโพกเหลือง (Yellow-rumpled Flycather) นกอีเสือลายเสือ (Tiger Shrike)

นกกิ้งโครงแกลบหลังม่วงดำ ( Purple-backed Starling) เป็นต้น

          นอกจากนั้นยังมี นกย้ายถิ่นเข้ามาสร้างรังวางไข่ในประเทศไทยในบางช่วง เช่นเข้ามาในฤดูฝน (Breeding visitors) เช่น

นกแต้วแล้วธรรมดา (Blue-winged Pitta) เข้ามาในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม และเข้ามาในฤดูแล้ง หรือต้นปี เช่น นกปากห่าง

(Asian Openbill) เป็นต้น นกกลุ่มดังกล่าวกระจายอาศัยหากินตามพื้นที่ธรรมชาติหลากหลายที่มีอยู่ในประเทศ แต่ชนิดที่พบเห็นในป่า

แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ นกกินพืชผลไม้ ได้แก่ พวกนกแก้ว (Parakeets) นกเขา นกพิราบ (doves, pigeons) ฯลฯ และ พวกกินแมลง

ได้แก่ พวกนกจับแมลง (flycatchers) นกกินแมลง (babblers) ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีนกกินเนื้อหรือนกล่าเหยื่อ (raptors and owls) เช่น

พวกนกเค้า นกฮูก เหยี่ยว เป็นต้น

          นกกินผลไม้และนกกินแมลง มีหลายชนิด หนาแน่น หรือน้อย ขึ้นอยู่กับสภาพป่าหรือฤดูกาล เช่น ในฤดูหนาว จะมีนกย้ายถิ่น

จำนวนมาก มาสมทบกับนกประจำถิ่นทำให้ฤดูหนาวเหมาะสมสำหรับการออกดูนก และฟื้นป่าเริ่มแห้งสะดวกในการเดินทางไปในที่กันดาร

นกกินผลไม้หลายชนิดกินแมลงเป็นอาหารประกอบนอกเหนือไปจากผลไม้ พบเป็นส่วนน้อยที่นกกินแมลงเป็นหลักกินผลไม้ด้วย

ทำให้เห็นว่า เมื่อแมลงมีอยู่มากมาย ตัวจำกัดจำนวนแมลงก็จะต้องมีมากขึ้นด้วยเช่นกัน

 

สภาพแวดล้อม และพฤติกรรมของนกที่ควรสังเกตุ

          ป่าและสภาพธรรมชาติ ที่เป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของนก มีความแตกต่างกันออกไปเช่นเดียวกับชนิดและกลุ่มของนก

ที่มีพฤติกรรมต่างกัน ทั้งนี้เพื่อการดำรงชีวิตที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม นกที่หากินโดยการท่องน้ำ (Waders) จะมีขาเรียวยาว

นกทะเล (seabirds) มักมีสีไม่ฉูดฉาด และมีขนที่ไม่เปียกน้ำโดยง่าย นกกลางคืน (nocturnal) จะมีขนเบา นุ่ม บินมีเสียงเบามาก

นกหัวขวาน (woodpeckers) มีปากแข็งแรงสำหรับเจาะหนอนตามต้นไม้กินเป็นอาหาร และมีขาและกรงเล็กสำหรับเกาะที่แข็งแรง

นกที่หากินตามพื้นล่างของป่าดิบ ที่พันธุ์ไม้หนาแน่นมักมีปีกไม่แข็งแรง เนื่องจากบินในระยะสั้นๆ และเคลื่อนไหวโดยการกระโดดโลดเต้น

หลบเร้นไปตามพุ่มไม้ เป็นต้น

 

Bird New

   
 


  Power By JiB~JiB
  

  Update : 13/01/2007





© Copyright 2007 dakota-fanclubs.bizhat.com All rights reserved