
นกแต้วแร้วท้องดำ
(Ourney s Pitta, Black-breated Pitta)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pitta gurneyi
เขตแพร่กระจาย : พบตั้งแต่ตอนใต้ของประเทศพม่า ลงมาจนถึงเขตรอยต่อระหว่างประเทศไทย กับประเทศมาเลเซีย
ลักษณะทั่วไป : นกแต้วแร้วท้องดำเป็นนกที่มีขนาดเล็ก ลำตัวยาวเพียง 21 เซนติเมตร จัดอยู่ในกลุ่มนกที่สวยงามมาก
ตัวผู้จะมีสีดำอยู่ตรงส่วนหัว ท้ายทอยเป็นสีฟ้าประกายสดใส หลังเป็นสีน้ำตาล บริเวณอกตอนล่างและใต้ ท้องมีสีดำสนิท
สำหรับตัวเมียนั้นสีจะสดใสน้อยกว่าตัวผู้ คือมีสีออกน้ำตาล เหลืองตามลำตัว ไม่มีแถบดำบนหน้าอกและใต้ท้อง
ส่วนนกที่อายุยังน้อย หัวและคอมีสีน้ำตาลเหลือง อกและใต้ท้องมีสีน้ำตาล มีลายเกล็ดสีดำทั่วตัวชอบหากินตามพื้นดินในป่า
ที่มีต้นไม้ขึ้นร่มครึ้ม และชอบร้องเสียงดัง แต้วแร้ว แต้วแร้ว บนกิ่งไม้เตี้ยๆ
ที่อยู่อาศัยหากิน : นกแต้วแล้วท้องดำชนิดนี้พบอาศัยอยู่เฉพาะในบริเวณป่าดงดิบต่ำ หรือที่ราบ ชุ่มน้ำพบได้ตั้งแต่
่ทางตอนใต้ของประเทศพม่าลงมาจนถึงรอยต่อระหว่าง ไทยกับมาเลเซีย บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไปจนถึงจังหวัดตรัง
อาหารส่วนใหญ่ : หนอนด้วง ปลวก จิ้งหรีดขนาดเล็ก และแมลงอื่นๆ
ฤดูผสมพันธุ์ : ในฤดูฝนหรือต้นฤดูฝน ของภูมิภาคที่มันอาศัยอยู่ ในประเทศไทยอยู่ในราวเดือนมีนาคมหรือ กลางเดือนมิถุนายน
นกแต้วแล้วท้องดำทำรังเป็นซุ้มทรงกลมด้วยแขนงไม้และใบไผ่ วางอยู่บนพื้นดิน หรือในกอระกำ วางไข่ 3-4 ฟอง ทั้งพ่อนกและแม่นก
ช่วยกันกกไข่และหาอาหารมาเลี้ยงลูก
สถานภาพ : เคยพบชุกชุมในระยะเมื่อ 80 ปีก่อน แต่ไม่มีรายงานทางวิทยาศาสตร์เลยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2495 จนมีรายงานพบครั้งล่าสุด
เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2531 นกแต้วแล้วท้องดำได้รับการจัดให้เป็นสัตว์ชนิดที่หายากชนิดหนึ่งในสิบสองชนิดที่หายากของโลก
* นกแต้วแล้วชนิดเดียวที่เหลือแหล่งอาศัยสุดท้ายในประเทศไทย และอาจเป็นแหล่งสุดท้ายในโลก ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
เขาประ - บางคราม ต.เขานอจู้จี้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ ประเทศไทย สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์คือนกชนิดนี้จัดเป็นสัตว์ที่อาศัย
อยู่เฉพาะในป่าดงดิบต่ำ ซึ่งกำลังถูกตัดฟันอย่างหนัก และสภาพที่อยู่เช่นนี้มีน้อยมากในบริเวณเขตคุ้มครองในภาคใต้
นอกจากนี้ยังเป็นนกที่หายากเป็นที่ต้องการของตลาดนกเลี้ยง จึงมีราคาแพงอันเป็นแรงกระตุ้นให้นกแต้วแล้วท้องดำถูกล่ามากยิ่งขึ้น *
Bird New