HOME | BIRD REPORT | BIRD PRACTICE | BIRD TOOL | BIRD FOREST | BIRD LOCATION | BIRD WALLPAPER | CONTACT US
 
Time




  

Bird Scarce

 

การเลือกซื้อ การใช้ และการดูแลรักษาอุปกรณ์ดูนก

          อุปกรณ์ที่ใช้ในการดูนกนั้น คงหนีไม่พ้นกล้องส่องทางไกลประเภทต่างๆ ซึ่งมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน และในที่นี้จะนำรายละเอียด

เกี่ยวกับกล้องที่นิยมใช้ที่สุดในการดูนกมาให้ได้อ่านกันนะคะ

          กล้องส่องทางไกลแบบสองตา (Binoculars) หรือมักเรียกกันว่า กล้อง Binoc เป็นกล้องที่มีคุณสมบัติสามารถดึงเอาภาพวัตถุ

ที่อยู่ไกลๆ ให้เข้ามาใกล้ขึ้น จึงทำให้เราสามารถมองเห็นรายละเอียดของวัตถุชิ้นนั้นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น กล้อง Binoc ในปัจจุบัน

แบ่งออกได้เป็นสองประเภท โดยมีชื่อเรียกตามชนิดของปริซึม Prism ที่กล้องตัวนั้นใช้อยู่

ู่กล้อง Binoc แบบ Porro Prism

เป็นกล้องที่มีมานานแล้ว เราสามารถสังเกตว่าเป็นกล้องชนิดนี้ได้ง่ายๆจากการที่เลนส์วัตถุ หรือเลนส์ด้านหน้าของกล้องที่มีขนาดใหญ่กว่า

ตั้งอยู่ในแนวที่เยื้องกับเลนส์ตา กล้องชนิดนี้เป็นกล้องที่การพัฒนามาอย่างยาวนาน จึงมีคุณภาพดีถึงดีมาก แข็งแรง ซ่อมแซมง่าย

และยังมีราคาถูกเนื่องจากสร้างได้ง่าย ข้อเสียคือมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก อีกทั้งมักจะมีรูปร่างไม่ค่อยสวยงาม จึงไม่เป็นที่นิยม

ของนักดูนกที่จำเป็นต้องสะพายกล้องเป็นเวลานานๆ

กล้อง Binoc แบบ Roof Prism

เป็นกล้องที่ได้รับการพัฒนามาในช่วงหลัง เนื่องจากการใช้เทคโนโลยี่ชั้นสูงในการออกแบบ จึงได้ Prism ที่มีขนาดเล็กลง กะทัดรัด

กล้องชนิดนี้ตัวเลนส์วัตถุจะเป็นแนวเส้นตรงกับเลนส์ตา ทำให้กล้องมีลักษณะเป็นท่อตรง คุณภาพของกล้องประเภทนี้จะดีมาก

เนื่องจากมักจะเป็นกล้องระดับโปรของผู้ผลิต น้ำหนักเบาเหมาะกับการสะพายนานๆ แต่มักจะมีราคาแพง และไม่แข็งแรงเท่ากล้องแบบ

Porro Prism ถ้ามีปัญหาจะซ่อมแซมได้ยากกว่า


          ขนาดของกล้องส่องทางไกลจะกำหนดด้วยเลข 2 ชุด ซึ่งหมายถึงกำลังขยายและขนาดเลนส์วัตถุ เช่น 8x40 จะมีความหมายว่า

มีกำลังขยาย 8 เท่าและมีเลนส์วัตถุขนาด 40 มม. และจากค่าทั้งสองเราก็จะได้ค่าความสว่างจาก การนำขนาดของเลนส์หารด้วยกำลังขยาย

เช่น กล้องขนาด 8x40 จะมีความสว่างเท่ากับ 5 เป็นต้น กล้อง Binoc ที่เหมาะสมกับการดูนก จะมีกำลังขยายอยู่ในราว 7-10 เท่า

และมีความสว่างราว 4-5 เท่า ส่วนขนาดของกล้อง Binoc ที่นิยมใช้ในการดูนกกันคือ กล้องขนาด 7x35 , 8x40(42),10x40(42)

          การเลือกซื้อกล้อง Binoc ขอแนะนำให้เลือกจากงบประมาณที่มีอยู่ ถ้ามีงบเพียงพอก็ขอให้เลือกกล้องแบบ Roof Prism

เพราะจะให้ความสบายและคุณภาพที่ดีกว่า แต่ถ้าในราคาที่เท่ากัน กล้องแบบ Porro Prism จะมีคุณภาพที่ดีกว่าดังนั้นการตัดสินใจ

จึงค่อนข้างยากสำหรับคนที่ไม่เคยซื้อหรือใช้กล้องส่องทางไกลมาก่อน แต่มีคำแนะนำง่ายๆ ให้คือ ลองซื้อกล้องแบบ Porro Prism ก่อน

โดยขอให้มีขนาดราว 8x40 ซึ่งจะมีราคาอยู่ราว 2,000-4,000 บาท ซึ่งคุณภาพเพียงพอกับการดูนกแล้ว หลังจากนั้นก็สำรวจใจตัวเอง

ว่าจะยังชอบการดูนกต่อไปไหม ถ้าแน่ใจว่าชอบการดูนกแน่นอนจึงค่อยซื้อกล้องที่มีคุณภาพมากขึ้นซึ่งทำให้เราดูนกได้มีความสุขมากขึ้น

ภาพนกที่ได้เห็นก็จะดีขึ้น ซึ่งกล้องพวกนี้มักจะเป็นแบบ Roof Prism ซึ่งมีราคาในราว 10,000-60,000 บาทซึ่งไม่จำเป็นต้องซื้อกล้อง

ที่มีราคาแพงมากนัก เพราะกล้องระดับนี้คุณภาพไม่ทิ้งกันขาดนัก กล้องราคาสี่หมื่นดีกว่ากล้องราคาหมื่นเดียวแน่นอน แต่จะคุ้มค่า

กับราคาที่แตกต่างกัน 6เท่าหรือไม่คงจะตอบได้ยาก แต่ถ้ามีงบเพียงพอ ก็ควรซื้อของดีไปเลย จะได้กล้องที่คุณภาพดี

และภาพนกที่ได้เห็นก็จะดีที่สุดค่ะ

กล้องเทเลสโคป (Telescope)

เป็นกล้องส่องทางไกลอีกชนิดหนึ่ง มีกำลังขยายมากกว่ากล้อง Binoc มักจะมีกำลังขยายมากกว่า 15 เท่าขึ้นไป มีเลนส์เพียงชุดเดียว

จึงมองเห็นด้วยตาเพียงข้างเดียว ด้วยกำลังขยายที่มาก กล้องชนิดนี้จึงจำเป็นต้องใช้ร่วมกับขาตั้งกล้องจึงทำให้พกพาลำบาก

และมักมีราคาแพงกว่ากล้อง Binoc การใช้งานก็จำกัดกว่า ดังนั้นเราควรจะซื้อเมื่อมีความพร้อม ่ถ้ามีงบเพียงพอก็ควรจะมีสัก 1 ตัว

เพราะจะทำให้เราเห็นภาพนกได้ใกล้ขึ้น ชัดเจนขึ้น จนทำให้บางคนชอบการดูนกจากเทเลสโคปมากกว่าจากกล้อง Binoc

เพราะดูแล้วสะใจกว่า นอกจากนั้นการดูนกบางชนิด เช่น นกชายเลนจำเป็นต้องใช้เทเลสโคปมาก เพราะนกจะอยู่ไกล

และนกแต่ละชนิดมีรายละเอียดใกล้เคียงกัน

          สำหรับคำแนะนำในการเลือกซื้อกล้องเทเลสโคป เนื่องจากกล้องชนิดนี้มีกำลังขยายมาก บางตัวมีกำลังขยายถึง 60 เท่า

ด้วยกำลังขยายขนาดนี้ เมื่อแสงผ่านชิ้นเลนส์จึงมีการเบี่ยงเบนมากทำให้ภาพที่ได้ไม่ค่อยชัดเจน สีสันเพี้ยนไปมาก มักจะเกิดกับกล้อง

ที่มีราคาถูก ส่วนกล้องที่มีคุณภาพสูงกว่าจะมีชิ้นเลนส์พิเศษที่เรียกว่า เลนส์ฟลูออไรด์ หรือบางทีก็เรียกว่า เลนส์ APOหรือเลนส์ ED

ซึ่งจะแก้ความเบี่ยงเบนของแสงได้ทำให้ภาพคมชัด สีสันถูกต้อง เมื่อกล้องเทเลสโคปเป็นกล้องทางเลือก มีก็ดี ไม่มีก็ได้

ฉะนั้นถ้าเราจะซื้อ เราก็ควรเลือกแบบที่ดีๆ ได้เห็นนกสวยๆ ชัดๆส่วนขนาดของกล้องเทเลสโคป เนื่องกล้องชนิดนี้มีเลนส์ตา 2 แบบคือ

แบบ fix มีกำลังขยายเดียว และแบบซูมซึ่งจะมีกำลังขยายหลายอัตราในเลนส์ตัวเดียว เพื่อความสะดวก เลนส์ซูมค่อนข้างจะเหมาะสมกว่า

กำลังขยายที่เหมาะสมอยู่ราว 20-60 เท่า ส่วนเลนส์เดี่ยวมีข้อดีคือภาพที่เห็นจะกว้างกว่า เพราะจะเป็นเลนส์แบบ Wide angle

สำหรับเลนส์วัตถุไม่ควรต่ำกว่า 60 มม. ซึ่งราคาของกล้องประเภทนี้ ถ้าเป็นกล้องราคาถูกจะอยู่ในราว 6,000-12,000 บาท

ส่วนกล้องที่มีชิ้นเลนส์ฟลูออไรท์ จะมีราคาอยู่ในราว 25,000-60,000 บาท

 

การใช้อุปกรณ์ดูนก

1. ปรับระยะห่างของตาทั้งสองข้าง (interpupillary distance) โดยการโค้งลำกล้องทั้งสองข้าง ซึ่งมีบานพับกลาง (central shaft) รองรับอยู่

จนกระทั่งลำแสงทั้งสองด้านอยู่ตรงกึ่งกลางของตาทั้งสองข้าง และเราจะเห็นภาพอยู่ในกรอบวงกลมเดียวกันพอดี

2. ส่องกล้องไปยังวัตถุที่อยู่นิ่ง เช่น ตอไม้ พุ่มไม้ หรือ ไม้ยืนต้น โดยใช้ตาซ้าย มองดูวัตถุนั้น แล้วปรับภาพที่เห็นให้ชัดที่สุด

ด้วยวงแหวนปรับโฟกัส (focus ring) ซึ่งอยู่ตรงกลางกล้อง

3. มองวัตถุเดิมอีกครั้งด้วยตาขวา แล้วปรับภาพที่เห็นให้คมชัดที่สุดอีกครั้งด้วยวงแหวนปรับระยะเลนส์ใกล้ตา (diopter adjustment)

ซึ่งอยู่ทางด้านขวาของตัวกล้อง เป็นอันว่าเราได้ปรับกล้องสองตาของเราให้เหมาะสมกับสายตาของเราเรียบร้อยแล้ว

4. เมื่อปรับกล้องเรียบร้อยแล้ว ต่อไปเมื่อเราส่องกล้องไปดูนกที่ไหน เราก็ปรับเพียงโฟกัสกลางกล้องเท่านั้น เราก็จะเห็นนกทุกตัวชัดเจน

ภายหลังจากปรับกล้องสองตาเรียบร้อยแล้ว ควรจะต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ในระหว่างดูนก ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดในการดูนก

1. ให้คล้องสายสะพายกล้องสองตาไว้กับคอเสมอ ไม่ว่าจะกำลังเดิน กำลังยืน หรือ กำลังนั่ง จะได้ไม่เผลอทำกล้องตกกระทบกับพื้น

หรือ ตกน้ำ จนบุบ หรือ ชำรุด จนปริซึมเคลื่อน และใช้งานไม่ได้ ถ้าสายสะพายยาวเกินไป ควรปรับให้ยาวพอเหมาะ กล้องสองตา

จะได้ไม่แกว่งไปกระทบกับต้นไม้ หรือ ก้อนหินจนชำรุด

2. ถ้าฝนตก ให้เก็บกล้องสองตาไว้ในเสื้อ หรือ ถุงพลาสติก เพื่อมิให้กล้องสองตาเปียกฝน จนอาจมีราขึ้นที่เลนส์จนใช้ดูนกต่อไปไม่ได้

3. พยายามฝึกฝนใช้กล้องสองตาส่องหานกอยู่บ่อยๆ เพื่อจะได้ส่องกล้องตามนกได้ทัน เนื่องจากนกบางกลุ่ม เช่น นกกินแมลง (Babblers)

หรือนกจับแมลง (Flycatchers) กระโดดหรือบินจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ไวมาก เราอาจส่องกล้องตามนกไม่ทัน

 

การดูแลรักษาอุปกรณ์ดูนก

          เมื่อกลับมาจากการดูนกในธรรมชาติแล้ว นักดูนกจะต้องทำความสะอาดกล้องสองตา โดยใช้เครื่องเป่า (blower)

เป่าฝุ่นที่ติดอยู่บนเลนส์ใกล้ตา และเลนส์ใกล้วัตถุให้หมดก่อน โดยจับกล้องให้เอียง เพื่อฝุ่นละอองจะได้หลุดร่วงได้โดยง่าย

แล้วใช้แปรงปัดเลนส์เบาๆ ไปทางเดียวกันอีกครั้ง ถ้าเลนส์เปื้อนมากๆ อาจใช้กระดาษเช็ดเลนส์หรือผ้าเช็ดแว่นตาทำความสะอาด

ถ้าหากสิ่งเปรอะเปื้อนยังไม่ออก จะต้องใช้น้ำยาล้างเลนส์ช่วยด้วย อย่างไรก็ดี การใช้น้ำยาล้างเลนส์บ่อยครั้งเกินไป อาจทำให้

สารเคลือบเลนส์หลุดออกไปได้ จึงต้องระมัดระวัง

          เมื่อทำความสะอาดกล้องสองตาเรียบร้อยแล้ว ควรเก็บกล้องใส่กล่องตามเดิม และควรใส่สารดูดความชื่น (silica gel)

ไว้ในกล่องใส่กล้องด้วย แล้วนำกล้องไปเก็บไว้ในที่ที่ไม่ร้อนเกินไป หรือ ชื้นเกินไป และปลอดภัยต่อการตกหล่น

สำหรับกล้องที่เปียกน้ำหรือชื้นมากๆ ควรเช็ดให้แห้ง แล้วใส่ไว้ในถังข้าวสาร เพื่อให้ข้าวสารดูดความชื้นออกจากตัวกล้อง

 

Bird New

   
 


  Power By JiB~JiB
  

  Update : 13/01/2007





© Copyright 2007 dakota-fanclubs.bizhat.com All rights reserved