




นกกะรองทองแก้มขาว
(Silver-eared Mesia)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Leiothrix argentauris
เขตแพร่กระจาย : ตั้งแต่บริเวณเทือกเขาหิมาลัยจนถึงจีนตอนใต้ พม่า ไทย ลาว เวียดนาม มาเลเซีย และเกาะสุมาตรา
พบครั้งแรกที่ประเทศเนปาล ทั่วโลกมี 8 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อย
ลักษณะทั่วไป : เป็นนกมีขนาดเล็ก 18 ซม. หัวเป็นสีดำ ขนบริเวณหูเป็นแถบขนาดใหญ่สีขาวแกมสีเงิน ปากสีเหลือง
คอหอยและอกตอนบนสีส้ม ลำตัวด้านบนสีเทา มีแถบสีแดงบริเวณโคนของขนปีกที่มีสีเหลือง ตัวผู้มีขนคลุมหางสีแดง
ตัวเมียขนคลุมหางสีส้มถึงเหลือง
ที่อยู่อาศัยหากิน : พบตามป่าดงดิบเขา ป่าละเมาะ และป่ารุ่น ในความสูง 1,500 เมตรขึ้นไป ช่วงฤดูผสมพันธุ์มักพบเป็นคู่
ช่วงอื่นพบเป็นฝูง อาจมีจำนวนถึง 30 ตัวหรือมากกว่า อาศัยและหากินตามพุ่มไม้
อาหารส่วนใหญ่ : กินแมลง ตัวหนอนและผลไม้บางชนิด ใช้ปากจิกกินตามกิ่งไม้ ใบไม้
ฤดูผสมพันธุ์ : ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน รังทำเป็นรูปถ้วย ประกอบด้วย ใบไม้ ใบไผ่ และใบหญ้า
รังอยู่ตามพุ่มไม้รกๆ สูงจากพื้นดินประมาณ 1- 2 เมตร ไข่คราวละ 3- 4 ฟอง สีขาวเป็นมัน
สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่น พบได้ทั่วไป
Bird New