



นกกะเต็นน้อยหลังดำ
(Black-backed Kingfisher/Oriental Dwarf Kingfisher)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ceyx Erithacus
เขตแพร่กระจาย : อินเดีย จีน พม่า ไทย ลาว เกาะไหหลำ หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์ แหลมมลายู เกาะสุมาตรา เกาะบอร์เนียว
ลักษณะทั่วไป : มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางเพียงประมาณ 14 เซนติเมตร ตัวเล็กๆ น่ารัก สีสันสดใส ปากใหญ่ยาว
ตามลักษณะของนกกะเต็น มีสีแดงสดใส หัวและคอสีน้ำตาลแดงและสีม่วง มีแถบสีดำที่กลางหน้าผาก หน้าและท้องสีส้มอมเหลือง
ปีกสีดำและน้ำเงิน ตะโพก ขนคลุมโคนหางด้านบนสีบานเย็น ขนหางสีน้ำตาลแดง ขาและเท้าสีแดง ตัวผู้และตัวเมียคล้ายคลึงกัน
ที่อยู่อาศัยหากิน : พบในป่าดิบ ป่าชั้นรอง และป่าเบญจพรรณ ใกล้ลำธาร แหล่งน้ำ
อาหารส่วนใหญ่ : แมลง ปลา สัตว์น้ำขนาดเล็ก จิ้งจก จิ้งเหลนป่า ตะขาบ กบ และเขียด
ฤดูผสมพันธุ์ : เดือนเมษายน-มิถุนายน นกทั้งสองเพศจะช่วยกันขุดโพรงในผนังดินบริเวณข้างลำธาร หรือผนังดิน ไม่ไกลจากแหล่งน้ำ
บางทีก็พบขุดเจาะรังปลวกเพื่อทำรังเช่นกัน ปากโพรงกว้างราว 4 เซนติเมตร ลึกราว 1 เมตร ตรงสุดโพรงจะขยายกว้างขึ้นเพื่อเป็นแอ่งวางไข่
ู่ไม่มีวัสดุรองรัง นกจะวางไข่ครอกละ 4-5 ฟอง เปลือกไข่สีขาว ลักษณะค่อนข้างเรียว ฟักไข่ 14-15 วัน ลูกนกอยู่ในรังราว 21-25 วัน
ในช่วงแรกที่ลูกนกออกจากไข่ ขนยังไม่ขึ้น พ่อแม่นกจะเข้าไปป้อนในรัง พอลูกนกโตขึ้น มีขนคลุมลำตัวบ้างแล้ว ลูกนกจะออกมารับ
อาหารที่ปากโพรงรัง เมื่อลูกนกบินได้แล้ว พ่อแม่จะป้อนอีกพักหนึ่งโดยนำเหยื่อเป็นๆมาให้ลูกนกลองทำให้ตายก่อนกินด้วยตัวเอง
โดยลูกนกจะกลืนเหยื่อทั้งตัว เมื่อโตพอลูกนกจะแยกไปหากินตามลำพัง
สถานภาพ : เป็นทั้งนกประจำถิ่น นกอพยพผ่าน และนกอพยพนอกฤดูผสมพันธุ์ พบได้ทุกภาค เว้นภาคเหนือด้านตะวันออก
และส่วนใหญ่ของภาคตะวันออก สามารถพบชนิดที่เป็นนกอพยพได้ตามสวนผลไม้ ป่าโกงกาง ป่าโปร่งตามแนวชายฝั่งทะเล
ก้นอ่าวไทยตอนใน แหล่งน้ำในภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง
Bird New