



นกพญาปากกว้างท้องแดง
(Black and Red Broadbill)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbirhynchus macroohynchos
เขตแพร่กระจาย : เกาะสุมาตรา เกาะบอร์เนียว ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะทั่วไป : ลำตัวป้อมสั้น หัวโต ความยาววัดจากปลายปากถึงปลายหาง 24- 25 เซนติเมตร ขนคลุมลำตัวด้านบนสีดำ
ปีกมีแถบสีขาว คอ ท้อง และตะโพกสีแดงเข้ม มีแถบสีดำพาดผ่านอก ขากรรไกรบนสีฟ้า ขากรรไกรล่างสีเหลือง ตาสีเขียวอมฟ้า
นิ้วและแข้งสีฟ้าอมเทา ขณะบิน จะสังเกตเห็นแถบสีขาวที่โคนปีกด้านบน
ที่อยู่อาศัยหากิน : ในพุ่มไม้ หรือ บนกิ่งไม้ ที่รกทึบ ส่วนมากที่พบ จะอยู่ข้างลำธารในป่าดิบ มักซ่อนตัวในพุ่มรก จะเห็นบินบ้าง
ก็ตอนโฉบตามแมลงออกมาจากนอกทรงพุ่มหรือบินข้ามลำธารในป่า
อาหารส่วนใหญ่ : สัตว์น้ำตัวเล็กๆ เช่นลูกปลา กุ้งตัวเล็ก ปู แมลง นอกจากนี้ยังกินผลไม้เนื้ออ่อนบางชนิด
ฤดูผสมพันธุ์ : ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน โดยในเดือนเมษายนเป็นช่วงที่พบรัง มากที่สุดคือ 8 รัง หรือร้อยละ 50
ของจำนวนรังที่พบทั้งหมด รองลงมาได้แก่ เดือนพฤษภาคม มีนาคม และเมษายน คือพบรังร้อยละ 31.25, 17.5 และ 6.25 ตามลำดับ
สถานภาพ : เป็นนกประจำถิ่นพบทางภาคใต้ ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงใต้
สถานที่ที่พบได้ค่อนข้างบ่อย คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ฮาลา - บาลา อุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
ช่วงเวลาที่พบบ่อยที่สุดจะอยู่ในช่วงนกจับคู่ และทำรัง เมื่อนกฟักไข่จะไม่มีพฤติกรรมใดๆ ที่เห็นชัด พ้นจากช่วงนี้แล้ว
ยากมากที่จะพบเห็นตัวชัดและนานพอ เพราะนกหากินในพุ่มไม้ดงทึบข้างลำธารหรือ ได้ยินเสียงร้อง (ไม่ค่อยได้ยินบ่อยนัก )
จึงมองหาตามกิ่งไม้ที่นกเกาะอยู่จากปริมาณที่มีผู้พบเห็น จัดว่าเป็นนกที่หายากและปริมาณน้อย
Bird New