




นกเป็ดผีใหญ่
(Great crested grebe)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Podiceps cristatus
เขตแพร่กระจาย : อิหร่าน ปากีสถาน อินเดีย ทิเบต จีน ญี่ปุ่น อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แอฟริกา
ลักษณะทั่วไป : นกเป็ดผีใหญ่มีขนาดถึง 48- 51 ซม. เมื่อวัดจากปลายปีกข้างหนึ่งถึงปลายปีกอีกข้างหนึ่ง มีความยาว 59- 73 ซม.
ตัวใหญ่และคอยาว หน้าขาว คอขาว ปากยาวสีชมพู มีขนคลุมลำตัวด้านล่างสีขาว ด้านบนสีออกน้ำตาลเข้ม มีหงอนซึ่งเป็นขนสีน้ำตาลเข้ม
สองข้างบนหัว มีขาอยู่ค่อนไปทางด้านหลังมากทำให้เดินไม่สะดวก ถนัดที่จะอยู่ในน้ำมากกว่า นกทั้ง 2 เพศคล้ายคลึงกัน
ที่อยู่อาศัยหากิน : บึง หนอง ทะเลสาบ แม่น้ำสายใหญ่ที่ไม่มีใครรบกวน
อาหารส่วนใหญ่ : ปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ
ฤดูผสมพันธุ์ : ไม่มีรายงานการทำรังวางไข่ในไทย
สถานภาพ : เป็นนกอพยพจะเดินทางมาในช่วงฤดูหนาวจำนวนไม่มากตัวนัก สำหรับประเทศไทย เป็นนกหายากระดับ very rare winter
visitor เคยพบครั้งแรกที่ดอยเต่า จังหวัดตาก อีกครั้งที่ อ.เชียงแสน จังหวัดเชียงใหม่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย และล่าสุดอีก 1
ตัวที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
* ในช่วงฤดูผสมพันธุ์นกเป็ดผีใหญ่จะมีขนประดับบริเวณหัวและคอสีน้ำตาลแดงสวยงามมาก เป็นเหตุให้ถูกล่าเป็นเครื่องประดับหมวก
จนเกือบสูญพันธุ์ไปจากประเทศอังกฤษ ในช่วงปี 1860 คาดว่ามีเหลืออยู่เพียง 42 คู่จนต้องมีองค์กรออกมาอนุรักษ์
ปัจจุบันเป็นนกประจำถิ่นที่พบได้ง่ายแล้ว *
Bird New