


นกกะเต็นอกขาว
(White-throated Kingfisher)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Halcyon smyrnensis
เขตแพร่กระจาย : ตุรกีจนถึงฟิลิปปินส์ มีทั้งหมด 4 ชนิดย่อยแตกต่างไปตามที่อยู่อาศัย โดยชนิดย่อยที่พบในไทยคือ H.s.smyrnensis
ลักษณะทั่วไป : นกกะเต็นอกขาวมีปากใหญ่สีแดง คอและอกสีขาวตามชื่อสามัญ หัวและตัวด้านล่างเป็นสี น้ำตาลแดง
ปีกและหางสีฟ้าสดใส ปลายปีกดำ หัวปีกสีน้ำตาลและน้ำเงินเข้ม ขาและเท้าสีแดงเช่นเดียวกับปาก ความยาวจากปลายปากจรดปลายหาง
28 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียคล้ายคลึงกัน ต่างกันที่ตัวเมียอาจมีสีน้ำตาลที่อ่อนกว่า
ที่อยู่อาศัยหากิน : สวนสาธารณะ สวนมะพร้าว ห้วย บึง หนอง คลอง แม่น้ำ หาดโคลน ป่าโกงกาง ป่าไผ่ ป่าเต็งรัง ตั้งแต่พื้นราบ
จนถึงระดับความสูง 2000 เมตรจากระดับน้ำทะเล
อาหารส่วนใหญ่ : สัตว์เลื้อยคลานที่มีและไม่มีกระดูกสันหลัง งูขนาดเล็ก หนู กิ้งก่า ปลาขนาดเล็ก จิ้งจก ตุ๊กแก ตะขาบ ปู กบ เขียด
นกขนาดเล็ก เช่นนกกระจิบหญ้า นกชนิดนี้มักถูกพบเกาะนิ่งๆ ก้มหัวลงหาอาหาร เมื่อพบก็จะโฉบลงไปจับขึ้นมา ฟาดกับกิ่งไม้
จนสลบหรือตาย แล้วจึงกิน
ฤดูผสมพันธุ์ : ในประเทศไทย นกชนิดนี้จะทำรังวางไข่ช่วงเดือนเมษายน ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันขุดโพรงรัง โดยใช้ปากและเล็บเท้า
ขุดเป็นโพรงเข้าไปในผนังดิน ตามบ่อน้ำที่เกือบแห้ง ผนังดินลำธารน้ำ เป็นต้น ปากรังจะมีพุ่มไม้เล็กๆปิดปากโพรงเล็กน้อย
ปลายโพรงด้านในจะขุดเป็นแอ่งวางไข่ กว้าง 50 ซม. ลึก 7 ซม.วางไข่ครอกละ 4-7 ฟอง เปลือกไข่สีขาวพ่อแม่นกช่วยกันหาอาหารป้อนลูก
สถานภาพ : เป็นนกกะเต็นประจำถิ่นของประเทศไทยที่พบได้ปริมาณมากและพบได้ทั่วประเทศ และเป็นนกประจำถิ่นของเอเชียใต้ด้วย
Bird New