HOME | BIRD REPORT | BIRD PRACTICE | BIRD TOOL | BIRD FOREST | BIRD LOCATION | BIRD WALLPAPER | CONTACT US
 
Time




  

Bird Scarce

 

นกจับแมลงจุกดำ

(Black-napped monarch)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hypothymis azurea

เขตแพร่กระจาย : ไทย อินเดีย จีน ปากีสถาน

ลักษณะทั่วไป : นกตัวผู้ ขนคลุมลำตัวส่วนใหญ่ และอกส่วนบนสีน้ำเงินอมฟ้าสดใส มีจุดกลมสีดำบริเวณกลางหัวค่อนไปใกล้ท้ายทอย

อกมีลายขีดเล็กๆ สีดำพาดจากใต้คอไปเกือบถึงหลังคอ มีขีดดำเล็กๆ ลากผ่านตา ปากสีเทาอมฟ้า โคนปากมีหนวดแข็งสีดำ หนา

เห็นได้ชัดเจน ท้องด้านล่างจนถึงขนคลุมใต้โคนหางสีขาว ตะโพกและขนคลุมใต้โคนหางสีเทามีแต้มสีฟ้าเล็กน้อย

นกตัวเมีย และนกวัยอ่อน บริเวณหัว คอ และใบหน้าด้านข้างสีฟ้าคล้ำกว่านกตัวผู้ ไม่มีจุกสีดำที่กลางหัว ขนบริเวณตั้งแต่ท้ายทอย

ลงไปถึงโคนหางน้ำตาลปนเทา ไม่มีขีดสีดำที่ใต้คอ ตั้งแต่ใต้คอลงมาเป็นสีฟ้าอมเทา และค่อยๆ จางลงจนเกือบขาวบริเวณตะโพก

และขนคลุมใต้โคนหาง

ที่อยู่อาศัยหากิน : สวนธารณะในเมือง สวนผลไม้ ป่าชายเลน ป่าโปร่ง ป่าดงดิบ จากที่ราบจนถึงความสูงระดับ 1,520 เมตร

อาหารส่วนใหญ่ : แมลงทั่วไป

ฤดูผสมพันธุ์ : เดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม เป็นช่วงที่นกจับแมลงจุกดำจับคู่ ทำรังวางไข ่โดยจะสร้างรังจากวัสดุจำพวกหญ้าใบยาว

เปลือกไม้ เส้นใยมอสนำมาพันและยึดเข้าด้วยกันด้วย ใยแมงมุม ทำเป็นรูปถ้วยทรงกรวย มักพรางตาศัตรูด้วยการใช้มอส ไลเคนส์

ต้นกล้วยไม้เล็กๆ หรือ พืชเถา จำพวกกระดุมพระอินทร์ สายสะพายพระอินทร์ เป็นต้นที่ยังมีชีวิตมาติดข้างรังทำให้กลมกลืนกับธรรมชาติ

ิรอบด้าน นกทั้งสองเพศช่วยกันทำรังและเลี้ยงลูกอ่อน ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 12 วัน ลูกนกจะยังคงอยู่ในรังประมาณ 7 - 10 วัน

จึงทิ้งรังแต่ยังคงหากินร่วมกับพ่อแม่ระยะหนึ่งจึงจะแยกตัวออกไปหากินเอง

สถานภาพ : บางส่วนเป็นนกประจำถิ่น และบางส่วนเป็นนกที่อพยมมาสมทบในฤดูหนาว

 

Bird New

   
 


  Power By JiB~JiB
  

  Update : 13/01/2007





© Copyright 2007 dakota-fanclubs.bizhat.com All rights reserved