HOME | BIRD REPORT | BIRD PRACTICE | BIRD TOOL | BIRD FOREST | BIRD LOCATION | BIRD WALLPAPER | CONTACT US
 
Time




  

Bird Scarce

 

นกจับแมลงตะโพกเหลือง

(Yellow-rumped Flycatcher)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficedula zanthopygia

เขตแพร่กระจาย : ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไซบีเรีย บริเวณ Ussuriland ของโซเวียตรัสเซียเดิม ภาคกลาง ภาคตะวันออก

และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ภาคเหนือและภาคใต้ของเกาหลี หมู่เกาะซุนดาใหญ่

ลักษณะทั่วไป : นกตัวผู้จะมีสีเหลืองสดใสตั้งแต่ใต้คอลงไปจนเกือบถึงใต้หางโดยที่ขนคลุมหางด้านล่างสีขาว ลำตัวสีดำ

ตั้งแต่กระหม่อม หลัง ลงไปจนถึงหางสีดำ มีคิ้วมีขาวเด่นชัด และกลางปีกมีลายเป็นแถบสีขาวกว้างที่ขนคลุมปีกตอนบน

และเรียวเล็กลงไปจนถึงขอบขนปีกบินด้านใน มองดูคล้ายเป็นรูปสายฟ้าสีขาวที่กลางปีก นกที่ยังไม่เต็มวัย จะเหมือนนกตัวเมีย

ซึ่งนกตัวเมียจะต่างจากนกตัวผู้ โดยจะมีวงรอบตาสีขาว ขณะที่นกตัวผู้ไม่มีวงรอบตา สีที่ท้องจะออกน้ำตาลอมเหลือง แต่บริเวณตะโพก

ยังเป็นสีเหลืองสด ให้สังเกตได้ง่าย ซึ่งถ้าพบนกไม่เต็มวัย หรือนกตัวเมียที่หากินอยู่ลำพังไม่มีนกตัวผู้อยู่ใกล้เคียงก็สังเกต

สีเหลืองสดที่ตะโพกจะช่วยให้จำแนกได้เร็วขึ้น

ที่อยู่อาศัยหากิน : บริเวณที่พบเป็นได้ตั้งแต่ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าชายเลน ป่าโกงกาง แถบริมฝั่งทะเล ไปจนถึง สวนในบริเวณบ้าน

สวนสาธารณะ ในพื้นที่ราบ แต่จะไม่พบในที่สูง เกิน 800 เมตร จากระดับน้ำทะเล ช่วงที่พบมักจะอยู่ไม่กี่วันเพราะนกจะเพียงแวะพัก

ระหว่างทางหาอาหารแล้วก็จะอพยพลงใต้

อาหารส่วนใหญ่ : แมลงและสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก มักหากินโดยเกาะกิ่งไม้ที่ต่ำๆใกล้พื้นดินบางครั้งลงจับแมลงที่พื้นดินด้วย

เนื่องจากมีขาที่ไม่แข็งแรง จึงใช้จับกิ่งไม้นิ่งๆ อยู่เท่านั้น ไม่สามารถเดินไปมาตามกิ่งไม้ได้ดีนัก

ฤดูผสมพันธุ์ : ระหว่างเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม ทำรังเป็นรูปถ้วยอยู่ในซอกหรือโพรงตามผนังดินข้างทางเดินในป่าหรือในซอกหิน

หรือโพรงข้างรากไม้บริเวณโคนตันไม้ใหญ่ในป่า หรือในลำต้นไม้ผุที่ล้มในป่า บางครั้งพบทำรังในกอมอสที่อยู่ต่ำใกล้พื้นดิน  

วางไข่ครอกละ 4-5 ฟอง  

สถานภาพ : เป็นนกจับแมลงที่อพยพผ่านประเทศไทย เพื่อหนีหนาวจากเอเชียแถบเหนือลงไปหากินทางใต้จนถึงมาเลเซีย

หมู่เกาะสุมาตรา และหมู่เกาะชวา ดังนั้นช่วงที่พบในไทย จะเป็นช่วงที่อพยพผ่านมาตอนต้นฤดูและจะพบอีกครั้งตอนอพยพ

กลับไปทำรังวางไข่ ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ จีนตอนใต้ และเกาะไหหลำ จะเริ่มพบในประเทศไทยราวเดือนกันยายน

และพบอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ และอาจล่าไปจนถึงกลางเดือนมีนาคม

 

Bird New

   
 


  Power By JiB~JiB
  

  Update : 13/01/2007





© Copyright 2007 dakota-fanclubs.bizhat.com All rights reserved