HOME | BIRD REPORT | BIRD PRACTICE | BIRD TOOL | BIRD FOREST | BIRD LOCATION | BIRD WALLPAPER | CONTACT US
 
Time




  

Bird Scarce

 

นกจาบคาหัวเขียว

(Blue-tailed Bee-eater)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Merops viridis

เขตแพร่กระจาย : ในประเทศเนปาล อินเดีย ศรีลังกา และไทย

ลักษณะทั่วไป : ขนาดประมาณ 28 ซม. ทั้งตัวผู้และตัวเมียเหมือนกัน ปากสีดำไม่โค้งแหลมมากนัก หัวด้านหลังและขนคลุมหลัง

ตลอดจนปีกเป็นสีเขียว ขนคลุมโคนหางและหางสีน้ำเงิน มีขนคู่กลางของหางแหลมยื่นยาวออกไปประมาณครึ่งหนึ่งของหาง

มีแถบคาดตาและหลังของตาสีดำ ม่านตาสีน้ำตาลแดง ถัดขอบตาลงมาเป็นสีขาวอมเหลือง ใต้คอเลยหน้าอกนิดๆ เป็นสีน้ำตาล

ท้องสีเขียวอ่อน เวลาบินรูปปีกจะมีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม ใต้ปีกเป็นสีน้ำตาล กึ่งบินกึ่งร่อน

ที่อยู่อาศัยหากิน : อาศัยอยู่ตามทุ่งโล่งใกล้แหล่งน้ำหรือป่าโกงกาง

อาหารส่วนใหญ่ : แมลงที่บินอยู่กลางอากาศ เช่น แมลงปอ ผีเสื้อ จะไม่กินอาหารหรือแมลงที่ตายแล้วหรืออยู่กับที่

ฤดูผสมพันธุ์ : ในประเทศไทย ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน ระหว่างเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม นกทั้งสองเพศ

ช่วยกันทำรังวางไข่โดยช่วยกันใช้ปากและเล็บขุดดินให้เป็นโพรง ตามฝั่งแม่น้ำ ลำคลอง หน้าผาดิน ข้างที่ลาดชันหรือเนินดิน  

โดยขุดเป็นโพรงกว้าง 4-6 ซม. ด้านในสุดเป็นโพรงขนาดใหญ่พอที่พ่อแม่นกจะกลับตัวได้ โพรงลึกประมาณ 1-2   เมตร   

ด้านในสุดจะขุดเป็นโพรงขนาดใหญ่ เป็นแอ่งวางไข่ ปกติไม่มีวัสดุอื่นใดรองก้นโพรง ไข่มีรูปร่างค่อนข้างกลมสีขาวนวล

ขนาด 19.2 X 23.1 มม. วางไข่ครอกละ 4-5 ฟอง นกทั้ง 2 เพศช่วยกันฟักไข่ จะเริ่มฟักหลังจากออกไข่ฟองแรก

(ในรังจึงจะ มีลูกนกหลายขนาด เพราะฟักออกเป็นตัว ไม่พร้อมกัน) ใช้เวลาฟักประมาณ 11-14 วัน  

สถานภาพ : ในประเทศไทยเป็นทั้งนกอพยพและนกประจำถิ่น ในภาคกลางและริมฝั่งแม่น้ำแควน้อยจะเป็นนกประจำถิ่น

แต่สำหรับทางภาคเหนือจะเป็นนกที่อพยพเข้ามาหากิน และผสมพันธุ์ ส่วนภาคอื่นหรือบางส่วนก็จะหากินแล้วอพยพผ่านไป

 

Bird New

   
 


  Power By JiB~JiB
  

  Update : 13/01/2007





© Copyright 2007 dakota-fanclubs.bizhat.com All rights reserved